เราจำเป็นต้องแบ่งอายุของนิทานที่เล่าให้ลูกๆฟังไหมค่ะ ?

นิทาน หากเราได้เดินดูตามร้าน จะพบว่าหนังสือนิทานหลายเล่มจะระบุช่วงอายุที่เหมาะสมต่อเด็กๆไว้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจากการที่คุณหมอได้อธิบายความจำเป็นในการเลือกนิทานตามช่วงอสยุวัยไว้นั้น เป็นเพียงเพื่อช่วบให้การเห็นภาพและเข้าใจในเนื้อหาของเด็กง่ายขึ้นก็เพียงเท่านั้นเองค่ะ ไม่ได้มีความจำเป็นหรือซีเรียสมากนักในการที่ต้องเล่านิทานตามช่วงอายุวัยแบบเป๊ะๆ ซึ่งก็คล้ายๆกับการเลือกของเล่นที่มีจุดประสงค์เพียงเพื่อความปลอดภัยต่อเด็กๆเป็นหลักค่ะ หากน้องๆเล่นอยู่ในสายตาและการควบคุมของพ่อแม่แล้ว เราก็สามารถให้น้องๆได้ลองเล่นได้หลายๆแบบหลายๆช่วงวัยค่ะ  เพราะไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือของเล่นเด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน อายุที่เท่ากันก็ไม่เหมือนกัน บางคนกลัวบางคนไม่กลัว หากกลัวเราก็เลิกอ่านเล่มนี้ไปลองเล่มใหม่ หรืออาจจะลองถามสาเหตุว่าน้องไม่ชอบจุดไหนกลัวเพราะมีอะไรในนั้นค่ะ มิใช่กลัวแล้วพยายามฝึกความเข้นแข็งอ่านต่อไป อาจพักเล่มนั้นไว้ก่อนหาสาเหตุแล้วผ่านไประยะหนึ่งค่อยนำกลับมาลองอ่านให้เค้าฟังใหม่ก็ได้นะค่ะ

   นิทานที่มีพระเอกมีผู้ร้าย ความดีความชั่ว มีแม่มด มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เนื้อหาเหล่านี้ดีต่อพัฒนาการด้านจิตใจ โดยเฉพาะจิตใต้สำนึกเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญโลกแห่งความจริง เทพนิยายส่วนใหญ่ช่วยเตรียมความพร้อม พวกเขาตีความไม่เหมือนเราอยู่แล้วค่ะ เทพนิยายและตำนานอยู่รอดมาได้เพราะมักรักษาสมดุลได้ดีมาตลอดหลายพันปี 


    ” เด็กบางคนสามารถรับรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งหรือซับซ้อนได้เร็ว ก็มิได้แปลว่าฉลาดกว่าเด็กคนอื่นๆ วิธีรับมือและตีความของเขาไม่เหมือนเรา แต่จะอย่างไรก็ตามการที่เขาอ่านหนังสือที่เกินตัวเลขอายุแนะนำได้ดี ถือว่าเป็นเรื่องน่าดีใจ คล้ายๆคำถาม อายุเท่านี้เท่านั้นเล่นนั่นเล่นนี่ได้หรือยัง โดยส่วนตัวไม่เคยถือสาเลย เอาทุกอย่างมาเล่นกับลูก เขาชอบ เล่นต่อ เขาไม่ชอบพักไว้ก่อน ปีหน้าค่อยลองใหม่ “

Leave a Reply