วิธีการพูดกับลูก
เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่ามันสามารถกระทบต่อพฤติกรรม การรับฟังของลูก ได้อย่างดี โดยเฉพาะในช่วงวัย 2 – 5 ขวบ เเละ เด็กจะเริ่มมีความคิดของตัวเอง แต่ว่าเขายังสื่อสาร และยังควบคุมอารมณ์ได้ไม่ค่อยดีนัก เวลาที่ลูกงอแง ทำตัวไม่น่ารัก หรือกำลังโกรธเคืองเรื่องใด ๆ วิธีการและการเลือกใช้คำและ วิธีการพูดกับลูก ของพ่อแม่นั้นสำคัญมาก ไม่เฉพาะกับสถานการณ์ ตรงหน้าที่อาจทำให้ดีขึ้น หรือแย่ลง ก็ได้ทั้งนั้น แต่มีอิทธิพลต่อการสร้าง ความเป็นตัวตน ของลูกที่จะคงอยู่ ไปจนโตเลยทีเดียว
ลองดูทางเลือกที่น่าสนใจกันนะคะ
รับฟังอย่างตั้งใจ
บางครั้ง ลูกก็ต้องการให้คุณรับฟัง เรื่องของเขาเฉยๆ เขาไม่ได้ต้องการความเห็นของคุณ ต่อปัญหาที่เขากำลังประสบอยู่ แต่ในบางสถานการณ์ เขาต้องการการรับฟัง อย่างสนอกสนใจ การแสดงออกว่าคุณรับฟังอย่างตั้งใจก็โดย วิธีการพูดกับลูก ด้วยการย้ำถ้อยคำของเขา ในขณะที่เขาเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้คุณฟัง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับเขาว่าคุณกำลังฟังเขาอยู่ และ เขามีค่าควรแก่การรับฟัง โดยนั่งลงให้สายตา อยู่ในระดับเดียวกับลูก ตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้น ให้ลูกแสดงความคิด ความรู้สึก ออกมา เช่น “ตอนนั้นลูกรู้สึกอย่างไร?”
ไม่ด่วนตัดสิน
เวลาที่พ่อแม่โมโห เมื่อลูกทำผิด พ่อแม่มักจะ มี วิธีการพูดกับลูก ด้วยการตะคอก แล้วต่อด้วยการด่าทอเสียงดัง ไม่ฟังที่ลูกพูด ทำให้เด็กไม่อยากจะบอก เพราะพูดไป พ่อแม่ก็ดุอยู่ดี สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่จะทำได้ ต้องเริ่มจากการเรียก ชื่อให้เขาสนใจก่อน จากนั้นก็ พูดด้วยคำง่ายๆ ถามให้แน่ใจว่า ลูกทำอะไร เกิดอะไรขึ้น ให้เขาได้ทบทวน สิ่งที่ตัวเองทำลงไปด้วย อย่าเพิ่งด่าลูก อย่างเอาเป็นเอาตาย ให้ลูกได้สำนึกผิด จะดีกว่าการพูดแรงๆ อย่าเพิ่งดุ หรือโต้เถียงลูก แม้ลูกจะผิดจริงก็ตาม ลองเปิดใจฟังความคิดลูกก่อน ลูกจะรู้สึกว่าพ่อแม่อยู่ฝ่ายเดียวกับเขา และอยากให้ความร่วมมือ มากกว่าต่อต้าน
เช่น “ ไหนบอกหน่อยสิ ว่าทำไมถึงไม่อยากไปโรงเรียน?”
“ ทำไมลูกถึงไม่ยอมเก็บของเล่น?”
ยอมรับความรู้สึก
เป็นเรื่องธรรมดา ที่ลูกจะยังควบคุมอารมณ์ ไม่ค่อยได้ พ่อแม่ต้องยอมให้ลูก ได้ปล่อยพลังด้านลบ ออกมาบ้าง อย่าเพิ่งห้าม ว่า “อย่าโกรธนะ!” หรือ “หยุดร้องไห้ได้แล้ว!” แค่แยกตัวลูกออกมา จากสถานการณ์ต้นเหตุ ไม่ต้องพูดอะไรมาก คอยอยู่เคียงข้าง และบอกว่า “แม่เข้าใจนะ” รอให้ลูกสงบ แล้วค่อยมาว่ากันด้วยเหตุผล
ตำหนิที่การกระทำ ไม่ใช่ตัวตน
เรื่องนี้สำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น หากลูกพูดคำหยาบ ให้ย้ำว่า สิ่งที่ไม่ดีคือ คำพูด ไม่ใช่ตัวลูก วิธีนี้ จะช่วยให้ลูกแยกแยะ พฤติกรรมไม่ดี ออกมาได้ง่าย และเรียนรู้ที่จะไม่ทำอีก โดยไม่รู้สึกแย่กับตัวเอง หรือคิดน้อยใจไปว่าแม่ไม่รัก แทนที่จะพูดว่า “ลูกแย่มากเลยที่พูดแบบนั้นกับแม่” ให้เปลี่ยนเป็น “คำพูดแบบนั้นไม่ดีเลย ไม่ควรใช้พูดกับคนอื่น”
เป็นตัวอย่างเรื่องการจัดการกับความรู้สึก
เด็ก ๆ มักจะยึด หรือเลือนแบบพฤติกรรม ตามสิ่งที่เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อแม่ที่เป็นคนใกล้ชิดเด็ก ๆ มากที่สุด ถ้าพ่อแม่เป็นแบบอย่างไม่ดี หรือทำในสิ่งที่ห้ามลูกทำ ลูกจะเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมพ่อแม่ทำได้ แล้วตัวเองถึงทำไม่ได้ล่ะ หลายคนคงไม่่รู้จะตอบกับลูกยังไงดี พ่อแม่ก็คือคนธรรมดาทั่วไป ที่มีอารมณ์ความรู้สึกได้เหมือนกัน บอกให้ลูกรู้ได้ ที่สำคัญต้องแสดงให้ลูกเห็นว่าความรู้สึกต่าง ๆ ไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป หาเหตุให้เจอ และหาวิธีจัดการกับมัน เช่น “ แม่รู้สึกเสียใจนะที่ลูกใช้คำพูดแบบนั้น ”
“ ขอเวลาแม่อยู่เงียบ ๆ สักห้านาที นะ ”
หรือ “รอให้พ่อใจเย็น หายหงุดหงิดก่อนนะ แล้วเรามาคุยกันใหม่”
นำเสนอทางเลือก
เด็ก ๆ ทุกคนจะมีเรื่องที่ตัวเองสนใจ และเรื่องที่ตัวเองไม่ชอบอยู่แล้ว และบ่อยครั้งที่พ่อแม่มักจะบังคับ ให้ลูกทำในสิ่งที่ไม่ชอบเป็นเวลานาน ๆ แน่นอนว่าลูกจะเกิดการต่อต้าน ต่อสิ่งที่ให้ทำโดยทันที ดังนั้น พ่อแม่ต้องให้ข้อเสนอให้ลูก ที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน เช่น ถ้าลูกช่วยแม่เก็บเสื้อผ้า แม่จะเล่านิทานให้ฟัง หรือว่าเดี๋ยวแม่จะให้ทานไอศกรีม เด็ก ๆ ก็อยากมีสิทธิในการเลือก และ ตัดสินใจได้ด้วยตัวเองแบบผู้ใหญ่ บางครั้งเมื่อลูกงอแงไม่ยอมทำตาม ลองเปลี่ยน วิธีพูดกับลูก จากการใช้คำสั่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกเลือกบ้าง
เช่น แทนที่จะบอกว่า “มาแต่งตัวได้แล้วลูก” ให้พูดว่า “ลูกอยากใส่ชุดสีส้มหรือสีฟ้า จ๊ะ?”
เปลี่ยนจาก“แปรงฟันได้แล้วลูก” เป็น “ลูกอยากแปรงฟันก่อน หรือจะอาบน้ำก่อน”
ให้หลีกเลี่ยงคำถามที่จะเปิดช่องให้ลูกตอบว่า “ไม่!” ได้ง่าย ๆ
ใช้ภาษาที่สร้างสรรค์
พยายามหลีกเลี่ยงคำว่า “อย่า” “ไม่” “ห้าม” เช่น “อย่าวิ่งเล่นในบ้าน” หรือ “ห้ามถอดเสื้อทิ้งไว้บนพื้น” ลูกจะสร้างภาพขึ้นมา และ ฝังใจกับสิ่งนั้นมากกว่าคำว่า “อย่า” หรือ”ห้าม” แทนที่จะพูดอย่างนั้น ลองใช้ วิธีพูดกับลูก ด้วยการพูดแต่ในสิ่งที่เราต้องการให้ลูกทำ
เช่น ” ลูก..เวลาอยู่ในบ้าน ใช้การเดินเท่านั้น”
” ถือแก้วดีๆนะ มันสวยมาก”
” ถือเสื้อเอาไว้ก่อน มันจะได้ไม่ตกลงพื้น” วิธีการนี้ต้องฝึกฝนแต่คุ้มค่า
พยายามหลีกเลี่ยง คำพูดตำหนิติเตียน
เช่น “ลูก..โตป่านนี้แล้วยัง…” ตราหน้า เช่น ” ลูกเป็นเด็กที่แย่จริงๆ” หรือ ทำให้อับอาย เช่น “แม่อายคนอื่นจริงๆ ที่ลูกทำอย่างนี้” การใช้ภาษาพูดเหล่านี้ จะไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากทำให้ลูกรู้สึกไม่ดี เด็กมักจะตัด การสื่อสารกับพ่อแม่ที่ใช้ วิธีการพูดกับลูกแบบนี้ และเริ่มพัฒนาแนวคิดที่ไม่ดีตามมา การใช้คำพูดเชิงบวก และ สร้างสรรค์ จะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง ทำให้มีความสุขมากกว่า ช่วยให้เขามีพฤติกรรมดีขึ้น กระตุ้นให้เกิดความพากเพียร พยายาม และ ประสบความสำเร็จในที่สุด นอกจากนี้เด็กๆ ย่อมเรียนรู้ที่จะเลียนแบบพ่อแม่ ในการให้เกียรติ และ รู้จักชมเชยผู้อื่น ตัวอย่างของคำพูดเชิงบวก
เช่น ” แม่จะดีใจมาก ที่ลูกไม่ลืมเก็บของเล่น”
” พ่อขอบใจนะ..ที่ลูกช่วยจัดของให้เป็นระเบียบ ”
” พ่อแม่มีความสุขมากที่ได้เห็นลูกใช้ความพยายามอย่างมากที่จะแบ่งของให้น้อง”
ทำให้ง่ายเข้าไว้
เด็กเล็กๆ มักมีปัญหา ในการทำตามคำสั่ง ที่มากเกินไปในครั้งเดียว เช่นเดียวกันกับเวลาเราถามทางที่เราไม่รู้จัก แล้วคนบอกเราจนงง พยายามแบ่งคำสั่งออกเป็นส่วนๆ ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า ” จอย ไปเก็บของเล่น แต่ก่อนจะไป ถอดรองเท้าไว้นอกบ้านแล้วเอาอาหารไปเลี้ยงแมวก่อน ” ผลก็คือ จอยจะไปเลี้ยงแมว แล้วออกไปเล่นเลย เนื่องจากการไปเลี้ยงแมว คือสิ่งสุดท้ายที่เธอจำได้ ถึงแม้ว่าเราต้องการปรับปรุงการสื่อสารกับลูก แต่การรับรู้มักขึ้นกับความน่าสนใจในบทสนทนา หากพบว่าลูกงง ไม่เข้าใจ ควรสอบถาม ถ้ายังสับสน ควรแบ่งแยกขั้นตอนเพื่อให้ทำตามง่ายขึ้น
Deklen รีวิวผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็ก ติดตามรีวิวผลิตภัณฑ์เด็กและข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กได้ที่
FACEBOOK : https://www.facebook.com/Deklen2017/
LINE : @deklenthai
INSTAGRAM : deklenthai
WEBSITE : https://deklenthai.com/
YOUTUBE CHANNEL : https://www.youtube.com/channel/UCy12E4PqMxYkC1cuNiomvXQ?view_as=subscriber
รับงานรีวิวของเล่นเสริมพัฒนาการและผลิตภัณฑ์เด็กทุกชนิดจากผู้ใช้งานจริง ติดต่องานได้ที่ LINE : @deklen