Category Archives: บทความ

นิทานนั้นดีอย่างไรและเหตุใดจึงควรเล่านิทานให้ลูกฟัง?

หลายคนอาจมีเวลาให้กับลูกๆน้อยลง หลายๆบ้านอาจจะยังไม่เคยเล่านิทานให้ลูกฟัง แต่คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมค่ะว่า นิทานนั้นดีอย่างไรและเหตุใดจึงควรเล่านิทานให้ลูกฟังบ่อยๆหรืออย่างน้อยก่อนนอนสัปดาห์ล่ะ 1-2 ครั้งก็ยังดีค่ะเรามาดูกันว่าข้อดีของการเล่นนิทานมีอะไรกันบ้าง เผื่อคุณพ่อคุณแม่หลายท่านอยากจะหันกลับมาเริ่มเล่นนิทานให้เด็กๆฟังกัน 1. นิทานสามารถสร้างให้ครอบครัวอบอุ่นได้  ช่วงเวลาดีๆที่พ่อแม่เล่านิทานก่อนนอนให้ลูกฟังสามารถนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความเชื่อมั่น เสริมสร้าง ปัญญาของเด็กๆได้เป็นอย่างดี 2. นิทานปลูกฝังให้เด็ก ช่างคิด ช่างถามและช่างสังเกตุ ทำให้เด็กมีความฉลาด มั่นใจ และกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก ทำให้มีความฉลาดทั้งทางปัญญา (IQ) และฉลาดทางอารมณ์ (EQ) 3. นิทานช่วยให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้ง่ายขึ้น การฟังนิทานเด็กจะได้รับความเพลิดเพลิน ทำให้เค้าได้รับฟังการออกเสียง การใช้ภาษา การเรียงปรโยค ได้รู้จักรูปประโยค ความหมายของคำ และเกิดทัศนคติที่ดีว่าภาษาแท้ที่จริงแล้วเป็นเรื่องสนุก ใช้ได้จริงในชีวิตและง่ายต่อการับรู้รับฟัง  4. นิทายช่วยสร้างนิสัยรักการอ่าน การเล่าหรือการอ่านนิทานให้เด็กฟังจะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านเพราะการ อ่านจะทำให้มีสมาธิ และอ่านหนังสือได้รวดเร็ว  5. นิทานสามารถสร้างและกระตุ้นจินตนาการในเด็กได้เป็นอย่างดี น้ำเสียงในการเล่านิทานเรื่องต่างๆจะกระตุ้นให้เด็กสร้างจินตนาการเป็นภาพ การกระทำของตัวละครในเรื่องแต่หละ่ตัวในฉากแต่ล่ะฉากเปลี่ยนไปเลื่อยๆ รวบรวมจนเป็นเืรองราว ตั้งแต่ต้นจนจบ จึงเป็นการสร้างจินตนาการไปพร้อมๆกับการรับรู้เรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน 6. นิทานสร้างความรู้สึกไม่ได้กำลังถูกสอนให้กับเด็ก เพราะเนื้อหาของนิทานจะมีขั้นตอนในการสร้างความเข้าใจรวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาและบทสรุปของเรื่องที่ ให้ข้อคิดต่อเรื่องนั้นๆ 7.นิทานสร้างความสัมพัธ์ที่ดีในครอบครัว  ช่วงเวลาดีๆที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง จะเป็นช่วงเวลาแห่งความรักและความอบอุ่นเป็นการเสริมสร้างสายใยความผูกพันอันดีระหว่างพ่อแม่ลูก 8. นิทานช่วยสร้างสมาธิ เด็กมักจะฟังนิทานอย่างตั้งใจเพราะส่วนมากจะเป็นเรื่องที่พวกเค้าไม่เคยรู้มาก่อน ในช่วงเวลานั้นเองของการตั้งใจฟังการจดจ่ออยู่กับอะไรบางอย่างนิ่งๆนานๆอย่างตั้งใจถือเป็นการฝึกสมาธิที่ดี หากเลือกเล่านิทานที่เหมาะกับช่วงวัยจะทำให้ เด็กเข้าใจ อยากรู้และติดตามต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นถือเป็นการสร้างสมาธิให้กับเด็กได้ เป็นอย่างดี 9. นิทานช่วยสร้างเด็กให้มีความรู้ และความฉลาดทางอารมณ์ หากเด็กชอบฟังนิทานเด็กก็จะปรับตัวและสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ เพื่อจะได้ฟังนิทานจากผู้ใหญ่

จริงๆแล้วมีคนที่เก่งภาษาที่ 2 ที่ไม่ใช่ภาษาพ่อแม่โดยไม่เคยไปเรียนเมืองนอกเลย ลูกคุณก็ทำได้เช่นกัน !

จริงๆแล้วมีคนที่เก่งภาษาที่ 2 ที่ไม่ใช่ภาษาพ่อแม่โดยไม่เคยไปเรียนเมืองนอกเลย ลูกคุณก็ทำได้เช่นกัน !  จากผลวิจัยพบว่าเด็กเล็กต้องได้รับรู้ภาษา 30% ของเวลาการตื่นนอนโดยประมาณ ถึงจะมีความสามารถพูดภาษานั้นๆ ได้คล่องแคล่ว การเริ่มพูดคุยกับลูกตั้งแต่เขายังเล็กๆ ด้วย 2 ภาษานั้นช่วยให้เค้ารับรู็ได้เร็วขึ้นและเป็นธรรมชาติ ในช่วงเด็กเล็กลูกน้อยจะมีความสามารถในการเรียนรู้สูง และรับรู้พร้อมซึมซับทุกอย่างได้ดี  การเพิ่มเติมภาษาอาจจะต้องเป็นการดำเนินการที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยเน้นสองภาษาที่จำเป็นที่สุดก่อน วิธีการสอนอย่างเป็นธรรมชาติ ให้ลูกรักเป็น เด็ก 2 ภาษา คุณครูคนแรก เพราะการเรียนรู้เริ่มจากที่บ้าน ควรมีข้อตกลงกันในครอบครัวว่าคนใดจะพูดสองภาษากับลูก โดยคนๆ นั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีเวลาอยู่กับเด็กค่อนข้างมาก และยึดให้คนๆ นั้นเป็นคุณครูสอนภาษาหลัก ซึ่งอาจจะเป็นคุณแม่ หรือ คุณย่า คุณยาย ในกรณีที่ในบ้านมีคนพูดภาษาที่ 2 ได้หลายคน ก็ยิ่งเป็นการดีในการเปิดโอกาสให้ลูกซึมซับภาษาที่ 2 มากขึ้น นอกจากการพูดคุยทั่วไปแล้ว ยังสามารถสอนภาษาเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การไปซื้อของในตลาด การไปสวนสาธารณะ หรือเลือกหัวข้อการเรียนรู้ตามพัฒนาการ หรือ ความสนใจของเด็ก สิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์การเรียนการสอน การทำความรู้จักกับสังคม หรือ เพื่อน ๆ ที่สอนภาษาที่ 2

10 วิธีฝึกฝนให้ลูกพูดภาษาอังกฤษได้ด้วยตัวคุณเอง

10 วิธีง่ายๆฝึกฝนได้ด้วยตัวคุณเองให้ลูกน้อยพูด ” ภาษาอังกฤษ ” เป็น อย่างที่หลายๆครอบครัวได้ติดตาม และสนใจการเลี้ยงลูกๆของแม่ตุ๊กพ่อแแหว่งในช่อง Little Monster ที่มีให้น้องจิน และน้องเรนนี่แล้วเป็นอะไรที่ได้ผลดีสุดๆเลยใช่ไหมค่ะโดยทั่วไปแล้ว การเรียนรู้ภาษาทุกภาษาที่ดีควนต้องมีทักษะทั้ง 4 เชื่อมโย่งกันไปอย่างที่แม่ตุ๊กสอนน้องๆ คือการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กเล็กแล้ว การเริ่มฝึกทักษะภาษาควรเริ่มต้นด้วยการฟัง และการพูดตามลำของการพัฒนาสมองต่อการเรียนรู้ การพัฒนาการพูดภาษาเป็นทักษะที่เชื่อมโยงกับทักษะการฟังเพื่อให้รับรู้ และเข้าใจที่สิ่งที่ต้องการสื่อ เรื่องที่สื่อสารจึงจะมีการตอบโต้กันได้ทั้งสองฝ่าย ข้อดีของการที่ลูกเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษกับคุณพ่อคุณแม่ก็คือ เด็กจะได้เรียนรู้ภาษาแบบค่อยเป็นค่อยไป และเป็นธรรมชาติ ดังนั้นทั้ง 2 ทักษะจึงมีความสัมพันธ์ และสำคัญในทางเดียวกันเมื่อคุณอยากให้ลูกพูดภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่   10 ข้อต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำในการฝึกฝนให้ลูกคุณพูดภาษาอังกฤษ หรือนำไปปรับใช้กับภาษาอื่นๆได้ด้วย 1. เนื่องจากเด็กเล็กจะชอบเลียนเสียงที่ได้ยินหรือรับฟัง ดังนั้นภาษาที่สอนพวกเค้าควรมีความถูกต้องในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ผู้สอนจึงควรเตรียมความพร้อมก่อนทำการสอนโดยอาจใช้เครื่องมือสื่อสาร คอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมการออกเสียงภาษาอังกฤษ ได้ฝึดฝนทั้งคุณและเด็กๆ 2.เริ่มต้นด้วยคำศัพท์ง่ายๆสั้นๆพูดแล้วชี้ไปที่สิ่งของที่ต้องการสื่อสารโดยไม่ต้องแปล ให้เด็กเน้นจดจำทางกายภาพจากภาพลักษณ์ รูปร่าง และสีสัน 3.ใช้คำหรือวลีสั้นๆที่เป็นคำพื้นฐานมักได้ยินง่ายๆทั่วๆไป ทักทายทุกๆวันพร้อมประกอบท่าทางตอนพูดเช่น  Hi,Thanks, Good Morning, Goodnight , Bye, Kiss me, love

หากการใช้สื่อเทคโนโลยียุคดิจิตอล นั้นสามารถช่วยให้เด็กๆเรียนรู้ภาษาได้ง่ายขึ้น และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรมีการกำหนดขอบเขตการใช้อย่างถูกวิธี เพื่อให้เด็กๆได้รับประโยชน์ และไม่เกิดโทษ

สื่อเทคโนโลยียุคดิจิตอล ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การที่เด็กๆสามารถสื่อสารได้สองภาษา หรือมากกว่านั้นคงดีไม่น้อย คุณพ่อคุณแม่หลายคนคำนึงถึงเรื่องนี้ จึงมีสื่อต่างๆมากมายที่ออกมาช่วยให้เด็กๆเรียนรู้ภาษาที่ 2 และ 3 เพิ่มอย่างสนุก และง่ายต่อการเข้าใจมากขึ้น สื่อที่ดีจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้จะจดจำได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ผู้สอนหรือผู้ปกครองก็ยังสนุกไปกับน้องๆพร้อมกันอีกด้วย การเรียนรู้ที่เกิดจากความต้องการของเด็กๆเอง ยิ่งจะช่วยกระตุ้นการอยากรู้อยากเห็น และพัฒนาตัวเองได้อย่างสม่ำเสมอ รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึง การฟัง พูด อ่าน เขียน ได้มากกว่าหนึ่งภาษา ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบที่เด็กจะเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว มีงานวิจัยหลายต่อหลายชิ้นที่ได้สนับสนุนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ดีที่สุด ในการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 8 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่สมองพัฒนาเต็มที่ เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็ว ดีกว่าเรียนรู้ในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นหลายครอบครัวที่มีเด็กเล็ก จึงเริ่มหันมาสนใจการสอนให้ลูกเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมากยิ่งขึ้น หากการใช้ สื่อเทคโนโลยียุคดิจิตอล นั้นสามารถช่วยให้เด็กๆเรียนรู้ภาษาได้ง่ายขึ้น และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรมีการกำหนดขอบเขตการใช้อย่างถูกวิธี เพื่อให้เด็กๆได้รับประโยชน์ และไม่เกิดโทษ 1. ช่วงอายุที่เหมาะสมนั้นสำคัญ โดยทั่วไปเด็กที่อายุมากกว่าสองขวบขึ้นไป ที่สามารถดูสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้ซึ่งไม่เกิน  1-2 ชั่วโมงต่อวัน และควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง หรือครู เน้นการดูสื่อในเชิงบวกที่ช่วยพัฒนาสมองได้มากกว่าการดูสื่อที่ให้เพียงความสนุกสนาน หรือทางที่ดี ควรจะสลับกันโดยบ่างระยะเวลาให้เหมาะสม 2. เนื้อหาของสื่อ

ของเล่นนั้นสำคัญ แต่การเล่นด้วยกันนั้นสำคัญกว่า

 ของเล่นนั้นสำคัญ แต่การเล่นด้วยกันนั้นสำคัญกว่า ของเล่นเด็กที่ดีนั้นมีมากมายมากกว่าแค่การได้เล่นได้หยิบจับ จากข้อมูลล่าสุดที่ตีพิมพ์โดย Morgridge Institute for Research แสดงให้เห็นว่าของเล่นที่เหมาะสมสามารถช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ในหลากหลายวิธีแต่ได้ประสิทธิภาพสุด คือการที่คุณได้เล่นของเล่นเหล่านั้นกับลูกๆด้วยกัน ของเล่นเด็กช่วยให้พวกเขาได้พัฒนาทุกๆส่วนจากประสบการณ์จริง การมองเห็นสี การสัมผัส การได้ยิน และยังช่วยในการประมวลผลภาพ การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าของเล่นเป็นส่วนหนึ่งการสร้างบุคคลิกภาพ นิสัย การเจริญเติบโต การแก้ปัญหา IQ และ EQ ของเด็กๆและจะส่งผลสะท้อนออกมาเมื่อเค้าเจริญเติบโตขั้น  นอกเหนือจากนี้ จากการศึกษาจริงที่ตีพิมพ์โดย American Academy of Pediatrics ได้แสดงให้เห็นว่าการเล่นกับลูกของคุณเป็นวิธีอันดับหนึ่งในการสร้างความผูกพันที่มั่นคงและยั่งยืนและไม่มีวิธีใดที่ดีไปกว่าการมีของเล่นดีดีซักชิ้นและคุณนั่งเล่นอยู่กับเค้าสอนเค้าไปพร้อมๆกัน ของเล่นแสนสนุกที่คุณสามารถสนุกด้วยกันได้นั้นควรมีเทคนิคฝึกสมองแซรกอยู่ด้วย โดยเลือกให้เหมาะตามช่วงวัย ช่วงอายุที่พวกเค้ากำลังเจริญเติบโต แม้บางครั้งการเล่นของเล่นกับลูกๆค่อนข้างใช้เวลาเกือบจะหมดวันที่หมดไป แต่เชื่อเถอะว่าเค้าได้คุณค่ามากกว่าการได้นั่งเล่นคนเดียว Ref : https://thewifechoice.com/best-toys-for-babies-aged-0-6-months/ #อาหารสมอง #ภัยร้ายในเด็ก #เด็กติดมือถือ #เด็กติดไอแพดแท็บเล็ต #เด็กติดจอ #เด็กสมาธิสั้น #ลูกสมาธิสั้น #ลูกดื้นโววายไม่นิ่ง #เสริมพัฒนาการเด็กตามวัย #ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย #เด็กชอบ #ของเล่นสำหรับลูกตามวัย #ขายของเล่นออนไลน์ #รีวิวของเล่นเด็ก #แนะนำของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก #Amarinbabykids #ของเล่นเด็ก #toptoys #besttoy #ราคาของเล่นเด็ก #วิธีสอนด็ก #IQเด็ก #วิธีสอนเด็ก #สมองเด็ก #เพลงกล่อมเด็กพัฒนาสมอง #จิตแพทย์

วิธีกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย

พ่อแม่ต้องทำอย่างไร เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยอย่างสมวัย โดยใช้เวลา 180 นาทีต่อวันวิธีกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย พ่อแม่สามารถทำได้ทุกคน โดยนายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ พ่อแม่นิยมเลี้ยงลูกโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต ล้วนเป็นสิ่งที่ทำลายพัฒนาการเด็กมากขึ้น ทำให้เด็กขาดทักษะทางด้านการสื่อสาร สมาธิ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ปี กิจกรรมที่เหมาะกับเด็กวัยแรกเกิด – 5 ขวบ คือ การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือกิจกรรมทางกายภาพ หากจะแบ่งเป็นช่วงอายุ เราสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 : เด็กอายุ 0-1 ปีเด็กกลุ่มนี้ พ่อแม่ควรเน้นกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายแบบเบาๆ เช่น การให้นอนคว่ำชันคอขึ้นแล้วหันไปข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อโตขึ้นมาอีกหน่อย ให้ลูกน้อยได้ลองชันตัวขึ้นจากพื้น การเอื้อมมือหยิบจับลูกบอลหรือของเล่น การคลาน การนั่งและเอี้ยวตัวไปเล่นของเล่นได้อย่างอิสระ การยืนโดยให้เกาะกับสิ่งของอื่นอยู่ และการเล่นกับพ่อแม่ ทั้งหมดนี้ พ่อแม่ต้องค่อยๆ ดูตามพัฒนาการของลูก ดูว่าลูกเรามีความพร้อมในแต่ละกิจกรรมเมื่อไหร่ เพื่อจะได้ส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยอย่างดีที่สุด กลุ่มที่ 2 : เด็กอายุ

พฤติกรรมชอบแย่ง และหวงของเล่น

เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกสุดที่รักรู้จักแบ่งปัน ไม่ว่าจะกับพี่น้อง หรือเพื่อนคนอื่น แต่ถ้าลูกเป็นเด็กขี้แย่ง และหวงของเป็นที่สุด พฤติกรรมชอบแย่ง และหวงของเล่น พญ.ตวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก และวัยรุ่น เขียนอธิบายไว้ในหนังสือเคล็ดลับเลี้ยงลูก 4 ดี ว่า เด็กอายุ 1 ขวบครึ่ง-2 ขวบครึ่ง มักจะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของทุกอย่าง ทำให้หลายๆ คนเป็นนักแย่งมือฉกาจ และหวงของเล่นมาก เมื่อถูกแย่งของมักจะจู่โจมเพื่อทวงของคืนอย่างรุนแรง อาจถึงขั้นทุบที หรือขว้างปาสิ่งของกันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เด็กยังไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กเป็นคนก้าวร้าวหรืออารมณ์รุนแรง แต่เด็กรับรู้เฉพาะความรู้สึกต้องการของตัวเองเท่านั้น สำหรับวิธีปรับพฤติกรรมให้เด็กรู้จักแบ่งปัน ไม่ขี้แย่ง หรือหวงของเล่นนั้น 1. พ่อแม่ไม่ควรลงโทษให้เด็กเกิดความอายหรือเสียหน้า เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกถูกทอดทิ้ง ผลที่ตามมาคือ เด็กจะก้าวร้าวมากขึ้น และสับสนในเรื่องสิทธิและระเบียบวินัย 2. ถ้าเด็กจะไปแย่งของคนอื่น พ่อแม่ควรจับมือออก ไม่ให้แย่ง และไม่ดุเด็ก หรือใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจไปสิ่งอื่น ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสาขาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาการเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในเรื่องเดียวกันนี้ว่า เด็กชอบแย่ง และหวงของเล่น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก เพราะเด็กวัยนี้จะจดจำและเลียนแบบพฤติกรรม ควรชมเมื่อลูกให้ของคนอื่น หรือชมเด็กอื่นให้ลูกเห็นเมื่อลูกได้รับการแบ่งปัน

การมองเห็น การสัมผัส การทรงตัวของลูกน้อย

ลองจินตนาการว่าคุณพึ่งตื่นนอน และรู้สึกว่ามีบางอย่างอยู่ในตาของคุณ มันทำให้ทุกอย่างดูเบลอและโฟกัสไม่ได้ นั่นคือแบบที่ลูกของคุณเห็นในช่วงระยะแรกๆหลังคลอด แต่การมองระยะใกล้นั้นไม่เหมือนกัน ลูกจะมีการโฟกัสที่ใบหน้าของคุณ ถ้าคุณลองเอาใบหน้าไปใกล้ลูกและพูดกับลูก เขาจะจดจำใบหน้าและเสียงของเรา ให้ลูกใช้สายตาลองให้ลูกใช้สายตาได้โดยการ ชี้ให้ลูกดูนกหรือสัตว์อื่นๆ ที่อยู่นอกบ้าน สัญญาณไฟจราจร หรือเครื่องบินบนท้องฟ้านำกระจกให้ลูกดู เผื่อว่าลูกต้องการดูตัวเอง และดูธรรมชาติ ลูกจะอยากจับต้องสิ่งที่ลูกเห็น ในระยะแรก มือของลูกจะยังปิดอยู่คล้ายการกำหมัด แต่ไม่นานลูกก็จะเริ่มเปิดนิ้วมือและนำมือทั้งสองข้างมาไว้ข้าหน้าได้ ลองให้ลูกฝึกใช้แขนลองให้ลูกใช้แขนได้โดยการ ยื่นของเล่นให้ลูกจับ และคอยดูว่าเขาจับได้ไหม แล่นเกมกับลูกโดยการยื่นนิ้วมือไปมาแล้วให้ลูกจับก็ได้เช่นกัน ไม่นานลูกของคุณก็จะเริ่มเรียนรู้ที่จะหยิบ จับ ของเล่นบนพื้นขึ้นมาแล้วนำเข้าปาก โดยเด็กส่วนมากมักจะใช้มือซ้ายมากกว่ามือขวา ดังนั้นการเลือกของเล่นให้ลูกๆของคุณจึงสำคัญไม่น้อยเลยที่เดียวค่ะ คุณพ่อคุณแม่ลองศึกษาประโยชน์ของเล่นแต่ล่ะชนิดเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กๆกันเถอะ #อาหารสมอง #ภัยร้ายในเด็ก #เด็กติดมือถือ #เด็กติดไอแพดแท็บเล็ต #เด็กติดจอ#เด็กสมาธิสั้น #ลูกสมาธิสั้น #ลูกดื้นโววายไม่นิ่ง #เสริมพัฒนาการเด็กตามวัย#จิตแพทย์ชี้เด็ก #ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย #เด็กชอบ #ของเล่นสำหรับลูกตามวัย #ขายของเล่นออนไลน์ #รีวิวของเล่นเด็ก #แนะนำของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก#Amarinbabykids #ของเล่นเด็ก #toptoys #besttoy #ราคาของเล่นเด็ก #วิธีสอนด็ก#IQเด็ก #วิธีสอนเด็ก #สมองเด็ก #เพลงกล่อมเด็กพัฒนาสมองref : http://www.ibabysecret.com/archives/1806

ลักษณะการรับรู้และพัฒนาการของเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป

เมื่อน้องเริ่มโตเข้าสู่วัยนี้สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของได้ เช่น ความแตกต่างของลวดลายต่าง ๆ เข้าใจความหมายของหน้า-หลังและบน-ล่างของตัวเด็ก แต่ไม่เข้าใจระยะใกล้หรือไกลของสถานที่ เด็กวัยนี้ยังคิดถึงแต่เรื่องปัจจุบัน คิดถึงแต่เรื่องที่ตนเองพัวพันอยู่ด้วย มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมค่อนข้างสั้น สนใจการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่จะไม่สนใจความสำเร็จของกิจกรรมนั้น ๆ เด็กจะกระตือรือร้นทำงานที่ตนเองสนใจ แต่เมื่อหมดความสนใจจะเลิกทำทันที โดยไม่สนใจว่างานนั้นจะสำเร็จหรือไม่ เด็กวัยเรียนนี้เป็นวัยแห่งการเตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ถ้าเด็กได้รับสิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุก ๆ ด้าน เด็กก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ได้อย่างราบรื่น เด็กในวัยนี้จะมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่เข้าโรงเรียน เด็กจะเริ่มเรียนรู้ในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อนแล้วจึงค่อยเป็นประสบการณ์ไปหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ไกลตัวออกไป สำหรับเด็กที่เริ่มเข้าเรียน จะสามารถเรียนรู้ได้ดี ถ้าทางโรงเรียนได้จัดสิ่งแวดล้อมโดยปล่อยให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว และเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มหรือเสริมพัฒนาการทางปัญญาของเด็กเป็นอย่างมาก เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่ช่วยหรือก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง ค้นคว้าสิ่งเหล่านี้ของเด็ก ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ภาพการ์ตูน สิ่งดังกล่าวนี้มี อิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาการของเด็กในด้านอารมณ์ ภาษาและสติปัญญา เด็กวัยเรียนนี้วุฒิภาวะทุกด้านกำลังงอกงามเกือบเต็มที่ ทำให้เด็กมีความสามารถเพิ่มขึ้นอีกหลายด้าน เป็นเพราะเด็กได้เรียนรู้กว้างขวางขึ้นในช่วงนี้ ทำให้เด็กสามารถที่จะคิดและแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวของตัวเอง เด็กในวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้โลกกว้างมากขึ้น ชอบความตื่นเต้น พึงพอใจในสิ่งแปลกใหม่ จะหันเหไปสู่การเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมนอกบ้าน เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับเพื่อน

ข้อแนะนำในทางปฏิบัติให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกน้อยกระตุ้นสมองและพัฒนาการทางภาษาอย่างถูกวิธี

พญ.จันทร์เพ็ญ มีข้อแนะนำในทางปฏิบัติให้คุณพ่อคุณแม่นำไปช่วยลูกปฐมวัย หรือก่อน 6 ขวบเพื่อกระตุ้นสมอง และพัฒนาการทางภาษาอย่างถูกวิธี ตามแนวทางดังต่อไปนี้ – คุยกับลูกอย่างสนุกสนาน ลูกต้องคุ้นเคย และได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่บ่อยที่สุดเท่าที่จะบ่อยได้ บอกเขาว่า คุณคือใคร คุณกับลูกอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไรอยู่ และอธิบายถึงสิ่งรอบตัวที่ลูกเห็น ได้ยินเสียง และสัมผัสได้ เริ่มจาก สิ่งเล็ก ๆ ใกล้ตัว ไปสู่สิ่งที่ใหญ่ขึ้น และไกลตัวออกไป รวมถึงการทักทายเด็กตั้งแต่ตื่นนอนเป็นประจำทุกวัน พร้อมกับโอบกอด หอมแก้ม หรือหยอกล้อไปด้วยจะยิ่งกระตุ้นสมองมากขึ้น – รับฟังลูกอย่างอดทน และตั้งใจ แม้ในช่วงแรก ๆ จะยังไม่เข้าใจภาษา หรือคำพูดที่ลูกใช้ แต่เมื่อลูกรับรู้ว่ามีคนตั้งใจฟังเขา จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาอยากฝึกออกเสียง หรือเปล่งคำพูดใหม่ ๆ มากขึ้น และอย่าเบื่อที่จะตอบคำถามลูก เพราะการขยันตอบคำถามลูกวัยเด็กเล็กก็เพื่อกระตุ้นสมองให้เด็กเป็นคนกล้าคิด ทำให้เกิดวงจรเรียนรู้แบบถาวร – ให้เวลาลูกตอบสนองหรือตอบคำถาม เพราะต้องไม่ลืมว่าเด็กเล็ก ๆ ต้องการเวลาทำความเข้าใจ เพื่อเรียบเรียงความคิดก่อนที่จะสามารถสื่อสารกับคุณได้ ดังนั้นอย่าใจร้อน เร่งรัด หรือพูดแทน หรือพยายามเติมคำในช่องว่างเวลาที่ลูกพูดกับเรา ควรให้เขาได้พยายามคิด และพูดออกมาด้วยตัวเอง – พูดคำง่าย ๆ สั้น ๆ และช้า ๆ เพราะในสมองลูกยังมีคำจำกัด