-
- แสงเปลี่ยนทิศทาง เป็นของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการหักเหของแสง เป็นการส่องแสงเลเซอร์ไปยังวัตถุต่างๆ แล้วให้สังเกตแสงว่ามันไปยังทิศทางไหน
- คุณสมบัติ : ช่วยให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตสิ่งต่างๆ
- ภายในกล่องประกอบด้วย
1.เลเซอร์พอยต์เตอร์พร้อมถ่านสำรอง 1 ชุด
2.ปริซึมแก้ว 38×38 mm. 90 องศา
3.เลนส์นูนสองด้าน ความยาวโฟกัส 50mm.
4.แท่งแก้วคนสาร ยาว 15 cm
5.กระดาษแข็ง ขนาด A4
- วิธีการทดลอง
1) แท่งแก้วคนสาร
- จัดวางเลเซอร์พอยต์เตอร์ – แท่งแก้วคนสารบนกระดาษขาว
- เมื่อแสงเลเซอร์ผ่านแท่งแก้วคนสาร จะสังเกตเห็นเป็นลำแสงได้ชัดเจน
2) ปริซึม
- จัดวางเลเซอร์พอยต์เตอร์ – ปริซึมบนกระดาษขาว
- ทดลองส่องลำแสงไปที่ปริซึม สังเกตแสงที่ผ่านเข้าไปในปริซึม ว่ามีทิศทางแตกต่างกับลำแสงก่อนเข้าปริซึมอย่างไร
3) เลนส์นูน
- จัดวางเลเซอร์พอยต์เตอร์ – เลนส์นูนบนกระดาษขาว
- ทดลองส่องลำแสงไปที่เลนส์นูน ให้สังเกตลำแสงว่ามีทิศทางเปลี่ยนไปอย่างไร
ฝึกทักษะและเพิ่มพัฒนาการเด็ก
พัฒนาการเด็กด้านร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดเล็กและการมองเห็นในการทดลอง
พัฒนาการเด็กด้านสติปัญญา เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ และสังเกต นำไปซึ่งการสังเกตปรากฎการณ์ตามธรรมชาติในสถานที่ต่างๆ
พัฒนาการด้านอารมณ์ ช่วยให้เด็กสนุกสนานและตื่นตาตื่นใจกับการทดลอง
ความรู้ที่ได้รับ
- ทำไมเราถึงต้องทดลองของเล่นชุดนี้
- เข้าใจการเปลี่ยนทิศทางหรือการหักเหของแสง
- เห็นภาพหลักการหักเหของแสง
- สามารถบอกได้ว่าการหักเหของแสงเกิดขึ้นได้อย่างไร
- แสงคือผู้ให้ชีวิตและเปลี่ยนแปลงโลกให้สว่างสดใส เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่ทำให้เกิดแสงสว่างที่มีบทบาทใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของมนุษย์
เนื่องด้วยแหล่งกำเนิดแสงพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดนั้น คือ ดวงอาทิตย์ และก็ยังมีแหล่งกำเนิดแสงจากแหล่งอื่นๆ เช่น หลอดไฟ ไฟฉาย กองไฟ
แสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสง เมื่อเข้าสู่ดวงตาของเรา จะทำให้เรามองเห็นวัตถุ และการที่เรามองเห็นวัตถุที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิดแสง เช่น โต๊เขียนหนังสือ เก้าอี้ ใบหน้าของเพื่อนเป็นเพราะ “การสะท้อนของแสง”
แสงที่มาจากหล่งกำเนิดแสงจะปะทะกับพื้นผิวของวัตถุและสะท้อนออกมาในทิศทางตรงข้าม และสะท้อนเข้าสู่ดวงตาของเรา
- การทดลองนี้แสดงให้เห็นถึง “การหักเห” ซึ่งเป็นกฎพื้นฐานของแสง เป็นปรากฎการณ์ที่แสงถูกหักเห แล้วเปลี่ยนทิศทางในการเดินทาง ซึ่งเกิดจากเมื่อแสงต้องเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง 2 ชนิดขึ้นไปที่มีความหนาแน่นทางแสงต่างกัน ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงไปจากตัวกลางเริ่มต้น
- ตัวอย่างการหักเหของแสงที่เกิดขึ้นตามธนนมชาติ คือ การเกิดรุ้งในช่วงที่แสงอาทิตย์ตกกระทบภายในหยดน้ำ
- หลักการหักเหของแสงที่นำไปใช้งานในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การถ่ายภาพใต้น้ำ,การส่องไฟรถยนต์ในบริเวณที่มืด,การจับปลาในน้ำ
ข้อควรระวัง
1.ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะทดลอง
2.ห้ามนำวัตถุต่างๆใส่ปากและขว้างปาใส่กัน
Reviews
There are no reviews yet.